วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบความรู้ที่ 3.5 คำสั่งพื้นฐาน

ใบความรู้ที่ 3.5 คำสั่งพื้นฐาน

คำสั่ง
ความหมาย
รูปแบบ
<html>
เป็นแท็กเริ่มต้นและสิ้นสุดของเอกสาร HTML
<html>…</html>
<head>
เป็นแท็กที่ใช้กำหนดในส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง
<head>…</head>
<title>
กำหนดข้อความบนไตเติลบาร์เป็นคำสั่งในส่วน<head>
<head><title>ข้อความ</title></head>
<meta>
เป็นแท็กสำหรับแสดงข่าวสารของไฟล์เอกสาร HTML
<meta>
<body>
เป็นแท็กเริ่มต้นและสิ้นสุดของเนื้อหาในเอกสาร ซึ่งในแท็ก <body> จะมีแท็กอื่น ๆ แทรกอยู่ระหว่างแท็กเปิดและแท็กปิด
<body>…</body>
<h1>
เป็นแท็กสำหรับกำหนดหัวข้อให้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่สุดถึงเล็กสุดกำหนดให้ไม่เกิน 6
<h1>…</h1>
<br>
ขึ้นบรรทัดใหม่
<br>
<hr>
ขีดเส้นคั่น
<hr>
<background>
ใช้รวมกับ<body>หรือ<table>เพื่อกำหนดสีของพื้นหลังเป็นรูปภาพ
<body background= “ชื่อ.นามสกุลรูปภาพ”>
<bgcolor>
ใช้รวมกับ<body>หรือ<table>เพื่อกำหนดสีของพื้นหลัง
<body bgcolor=ชื่อสี>
<font color, size, face>
แสดงข้อความกำหนดสีของข้อความ กำหนดขนาดของข้อความกำหนดชนิดของข้อความ
<font color=ชื่อสี size= “ขนาดกำหนดได้ตั้งแต่ 1 ถึง 7” face= “ชนิดของตัวอักษรเช่น Angsana new เป็นต้น”>ข้อความ</font>
<b>
ข้อความหนา
<b>ข้อความ</b>
<i>
ข้อความเอียง
<i>ข้อความ</i>


คำสั่ง
ความหมาย
รูปแบบ
<u>
ข้อความขีดเส้นใต้
<u>ข้อความ</u>
<marquee> <marquee behavior=alternat>
ทำให้ข้อความเลื่อนจากซ้ายไปขวาทำให้ข้อความเลื่อนจากซ้ายไปขวาแล้วย้อนกลับ
<marquee>ข้อความ</marquee>
< marquee behavior=alternat>ข้อความ</marquee>
<img src alt width height>
แสดงรูปภาพ กำหนดรูปภาพ   กำหนดข้อความเมื่อเอาเมาส์วางบนภาพ  กำหนดความกว้างของภาพ   กำหนดความยาวของภาพ
<img src= “ชื่อ.นามสกุล  width= “ความกว้าง” height “ความยาว” alt= “ข้อความ”>เช่น <img src = “lan.jpg”  width= “80” height “250” alt= “ภาพโรงเรียน”>
<tt>
เป็นแท็กสำหรับกำหนดตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ดีด
<tt>…</tt>
<ul>
เป็นแท็กสำหรับแสดงรายการโดยไม่ต้องเรียงลำดับ
<ul>…</ul>
<ol>
เป็นแท็กสำหรับแสดงรายการโดยเรียงลำดับ
<ol>…</ol>
<li>
เป็นแท็กแสดงข้อความในแต่ละบรรทัดใน แท็ก <ul> และ <ol>
<li>…</li>
<a>
เป็นแท็กที่กำหนดการเชื่อมโยง
<a>…</a>
<img>
เป็นแท็กที่กำหนดการเชื่อมโยงด้วยรูปภาพ
<img>…</img>
<a href target>
กำหนดการเชื่อมโยง กำหนดจุดเชื่อมโยง กำหนดการเปิดหน้าต่างใหม่
<a href= “จุดเชื่อมโยง” target= “ลักษณะการเปิดหน้าต่าง” >ข้อความ</a> เช่น <a href= “http://www.yorwor2.ac.th”  target= “_blank”>โฮมเพจโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒</a>
<table>
เป็นแท็กสำหรับสร้างตาราง
<table>…</table>
<table width, bgcolor, border, bordercolor>
สร้างตารางกำหนดความกว้างของตาราง
<table width = “80% bgcolor=blue border= “2” bordercolor=red>


คำสั่ง
ความหมาย
รูปแบบ
<tr>
เป็นแท็กสำหรับการกำหนดแถวในตาราง
<tr>…</tr>
<td>
เป็นแท็กสำหรับกำหนดคอลัมน์ในแถว
<tr>…</tr>
rowspan
รวมแถว
<td rowspan= “จำนวน แถว ที่จะรวม” >
colspan
รวมสดมน์
<td colspan= “จำนวน cell ที่จะรวม” >
<caption>
เป็นแท็กสำหรับกำหนดคำอธิบายในตาราง
<caption>…</caption>
<th>
เป็นแท็กสำหรับกำหนดข้อความหัวข้อเรื่องของตาราง
<th>…</th>
<form>
เป็นแท็กสำหรับกำหนดสร้าง form
<form>…</form>
<input>
เป็นแท็กสำหรับกำหนด input ใน form
<input>…</input>
<frame>
เป็นแท็กสำหรับสร้าง frame
<frame>…</frame>

ตัวอย่างที่ 3_04_06 การกำหนดสีพื้นหลังและสีตัวอักษรของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล

ตัวอย่างที่ 3_04_06 การกำหนดสีพื้นหลังและสีตัวอักษรของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล



รูปที่ 3_04_06 ผลที่ได้จากการแสดงผล ตัวอย่างที่ 3_04_06 โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์

ตัวอย่างที่ 3_04_05 การกำหนดสีตัวอักษรของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล โดยการระบุตัวเลข

ตัวอย่างที่ 3_04_05 การกำหนดสีตัวอักษรของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล โดยการระบุตัวเลข



รูปที่ 3_04_05 ผลที่ได้จากการแสดงผล ตัวอย่างที่ 3_04_05 โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์

ตัวอย่างที่ 3_04_04 การกำหนดสีตัวอักษรของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล โดยการระบุชื่อสี

ตัวอย่างที่ 3_04_04 การกำหนดสีตัวอักษรของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล โดยการระบุชื่อสี



รูปที่ 3_04_04 ผลที่ได้จากการแสดงผล ตัวอย่างที่ 3_04_04 โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์

ตัวอย่างที่ 3_04_03 การกำหนดสีพื้นหลังของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล โดยการระบุตัวเลข

ตัวอย่างที่ 3_04_03 การกำหนดสีพื้นหลังของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล โดยการระบุตัวเลข



รูปที่ 3_04_03 ผลที่ได้จากการแสดงผล ตัวอย่างที่ 3_04_03 โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์

การกำหนดสีของตัวอักษร

การกำหนดสีของตัวอักษรทั้งหมดของเอกสารเว็บหรือเอ็ชทีเอ็มแอลนั้น สามารถทำได้โดยการอธิบายลักษณะพิเศษ (Attribute) คือ text ซึ่งกำหนดอยู่ที่ตำแหน่งคำสั่งเปิดของคำสั่ง <body> รูปแบบของคำสั่งสำหรับการกำหนดสีของเอกสารเว็บ สามารถทำได้ดังนี้
<body text=สีที่ต้องการ>
      สีที่ต้องการ จะมี “ ” หรือไม่มีเครื่องหมาย “ ” ก็ได้
</body>
โดยสีที่ต้องการกำหนดนี้ สามารถทำการกำหนดได้ 2 วิธีคือ
- ระบุชื่อของสีที่ต้องการเช่น  Blue, Green, Red, Yellow เป็นต้น

- ระบุตัวเลข โดยใช้การกำหนดค่าสีในระบบเลขฐาน 16

ตัวอย่างที่ 3_04_02 การกำหนดสีพื้นหลังของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล โดยการระบุชื่อสี

ตัวอย่างที่ 3_04_02 การกำหนดสีพื้นหลังของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล โดยการระบุชื่อสี



รูปที่ 3_04_02 ผลที่ได้จากการแสดงผล ตัวอย่างที่ 3_04_02 โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
- ระบุตัวเลข โดยใช้การกำหนดค่าสีในระบบเลขฐาน 16 จำนวน 6 หลักสำหรับการผสมสี (RGB) โดยค่าตัวเลข 2 หลักแรกหมายถึงระดับสีแดง ตัวเลข 2 หลักต่อมาหมายถึงระดับของสีเขียว และตัวเลข 2 หลักสุดท้ายหมายถึงระดับของสีน้ำเงิน

ตัวอย่างที่ 3_04_01 ตัวอย่างเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล

ตัวอย่างที่ 3_04_01 ตัวอย่างเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล



รูปที่ 3_04_01 ผลที่ได้จากการแสดงผล ตัวอย่างที่ 3.1 โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์

การกำหนดสีของพื้นหลังและสีของตัวอักษร

การกำหนดสีพื้นหลังและการกำหนดสีของตัวอักษรของเอกสารเว็บนั้น สามารถทำโดยกำหนดเป็นการอธิบายลักษณะพิเศษ (Attribute) ของคำสั่ง <body> โดยมีวิธีการกำหนดสีของพื้นหลังของเอกสารและสีของตัวอักษรในเอกสารได้ดังนี้

การกำหนดสีของพื้นหลังเอกสาร

การกำหนดสีพื้นหลังของเอกสารเว็บหรือเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอล นั้นสามารถทำได้โดยใช้การอธิบายลักษณะพิเศษ (Attribute) คือ bgcolor ซึ่งการกำหนดสีพื้นของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอลนั้น สามารถกำหนดภายใต้คำสั่งเปิดของคำสั่ง <body> โดยการกำหนดสีพื้นหลังของเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอลสามารถแสดงได้ดังนี้
<body bgcolor=สีที่ต้องการ>
      สีที่ต้องการ จะมี “ ” หรือไม่มีเครื่องหมาย “ ” ก็ได้
</body>
โดยสีที่ต้องการกำหนดนี้  สามารถทำการกำหนดได้ 2 วิธีคือ
- ระบุชื่อของสีที่ต้องการเช่น  Blue, Green, Yellow เป็นต้น

ใบความรู้ที่ 3.4 คำสั่งเบื้องต้นสำหรับการสร้างเว็บเพจ

ใบความรู้ที่ 3.4 คำสั่งเบื้องต้นสำหรับการสร้างเว็บเพจ

คำสั่งเริ่มต้น

คำสั่งเริ่มต้นที่ใช้สำหรับการบอกว่าเอกสารนั้น คือเอกสารเว็บที่เป็นภาษาเอชทีเอ็มแอลคือคำสั่ง  <html> และใช้คำสั่ง </html> เป็นการบอกจุดสิ้นสุดของเอกสารเอชทีเอ็มแอล โดยคำสั่งนี้จะไม่แสดงผลในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ แต่เขียนเพื่อบอกให้ทราบว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารของภาษาเอชทีเอ็มแอล (html)  กล่าวคือข้อความที่อยู่ระหว่างคำสั่ง <html> และ </html> เป็นเอกสารที่เป็นภาษาเอชทีเอ็มแอลนั่นเอง
<html>(ภาษาเอชทีเอ็มแอล)</html>

คำสั่งกำหนดส่วนหัวของเอกสารเว็บ

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าเอกสารเอ็ชทีเอ็มแอลนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนหัวเรื่องของเอกสารเว็บและส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ โดยคำสั่งที่ใช้บอกส่วนหัวเรื่องของเอกสารเว็บนั้น คือคำสั่ง <head>…<head> ซึ่งคำสั่งที่อยู่ภายในส่วนหัวของเอกสารเว็บนั้น เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดข้อความที่ใช้เป็นชื่อเรื่องของเอกสารเอชทีเอ็มแอล และคำสั่งที่ใช้สำหรับบอกคำสำคัญ (Keyword) ของเอกสารเอชทีเอ็มแอล เพื่อใช้ในการค้นหาเอกสารนั้นบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
<head>(คำสั่งย่อยสำหรับส่วนหัวของเอกสาร)<head>

คำสั่งกำหนดข้อความในส่วนหัวของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์

คำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดข้อความที่จะปรากฏบนส่วนหัวของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ คือคำสั่ง  <title>…</title> หากต้องการใช้ข้อความใดปรากฏที่ตำแหน่งส่วนหัวของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ทำได้โดยเอาข้อความที่ต้องการแสดงผลนั้นใส่เข้าไประหว่างคำสั่งเปิด <title> และคำสั่งปิด </title> ซึ่งคำสั่งนี้จะอยู่ในส่วนหัวของเอกสารเว็บ
<title>(ข้อความที่ต้องการให้ปรากฏที่ส่วนหัวของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์)</title>

คำสั่งกำหนดส่วนเนื้อหาของเอกสารเว็บ

คำสั่งที่ใช้กำหนดส่วนที่เป็นเนื้อหาของเอกสารเว็บคือ คำสั่ง <body>…</body> ซึ่งใช้เป็นคำสั่งสำหรับบอกแก่โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ว่า ส่วนที่อยู่ระหว่างคำสั่งนี้เป็นส่วนที่จะนำไปแสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วย ตัวอักษร รูปภาพ เป็นต้น
<body>…</body

ใบความรู้ที่ 3.3 การสร้างเว็บเพจเบื้องต้น

ใบความรู้ที่ 3.3 การสร้างเว็บเพจเบื้องต้น

ขั้นตอนแรกในการสร้างเอกสารเว็บคือ การร่างเนื้อหาที่ประกอบอยู่ภายในของเอกสารเว็บและจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วน โดยแบ่งเป็นหน้าคล้ายกับหน้ากระดาษของหนังสือ ซึ่งจำนวนของข้อมูลในเอกสารแต่ละหน้าของเอกสารเว็บไม่ควรมีขนาดใหญ่มากนัก เพราะจะทำให้ขนาดของเอกสารเว็บที่เป็นแฟ้มข้อมูลภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) นั้น มีขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้เวลาสำหรับการดึงเอกสารเว็บจากระบบเครือข่าย เพื่อมาแสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ใช้เวลามาก และเอกสารเว็บที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากในแต่ละหน้าของเอกสาร จะทำให้ไม่สามารถแสดงผลข้อมูลทั้งหมดในหน้าเดียว ซึ่งจะต้องใช้แถบเลื่อนสำหรับดูข้อมูลของเอกสารเว็บในส่วนที่เหลือ ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เปิดดูเอกสารเว็บรู้สึกไม่สะดวกในการดูเอกสารเว็บ โดยเอกสารเว็บที่ดีควรแบ่งเนื้อหาในแต่ละหน้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ใบความรู้ที่ 3.2 โครงสร้างของอเอกสารเอชทีเอ็มแอล

ใบความรู้ที่ 3.2 โครงสร้างของอเอกสารเอชทีเอ็มแอล

โครงสร้างของเอกสารเอชทีเอ็มแอลนั้นจะประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนหัวของเอกสาร  (Head Section) และส่วนเนื้อหาของเอกสาร (Body Section) โดยส่วนหัวของเอกสารจะอยู่จะอยู่ภายใต้ป้ายระบุหรือคำสั่ง <head>…</head> และส่านเนื้อหาของเอกสารจะอยู่ภายใต้ป้ายระบุหรือคำสั่ง <body>…</body> โดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภายในป้ายระบุหรือคำสั่ง <html>…</html> ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้สำหรับบอกว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารเอชทีเอ็มแอล
<html>
      <head>
            คำสั่งที่อยู่ในส่วนหัวของเอกสาร
      </head>
      <body>
            คำสั่งที่อยู่ในส่วนเนื้อหาของเอกสาร
      </body
</html>

ส่วนหัวเรื่องของเอกสารเว็บ

ส่วนหัวเรื่องของเอกสารเว็บ (Head Section) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับอธิบายข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับเอกสารเว็บนั้นเช่น ชื่อเรื่องของเอกสารเว็บ (Title) ซึ่งของผู้จัดทำเว็บ (Author) คำสำคัญหรือคีย์เวิร์ด (Keyword) เพื่อใช้สำหรับให้ผู้ใช้งานคนอื่นค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บเพจที่ได้ทำการสร้างขึ้น บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่งที่สำคัญคือ
- meta เป็นส่วนที่ไม่ปรากฏผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ในการทำคลังบัญชีเว็บเพจ สำหรับใช้ในการสืบค้นเว็บเพจ (Search Engine) จากผู้อื่น
- title ใช้สำหรับบอกชื่อเรื่องของเอกสารเว็บ โดยข้อความนี้จะปรากฏที่แถวชื่อด้านบนสุดของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ โดยข้อความนี้ครอบคลุมถึงเนื้อหาทั้งหมดของเอกสารเว็บ
<head>
            <meta name = “Author” content = “ชื่อผู้สร้างเวบเพจ
            <meta name = “Keyword” content = “คำสำคัญ1, คำสำคัญ2, ...
<title>ข้อความที่ใช้เป็นข้อความหัวเรื่องของเอกสาร</title>
      </head>
การพิมพ์ชุดคำสั่งของภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) สามารถใช้ได้ทั้งตัวอักษรพิมพ์เล็กและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ หรือผสมกันทั้งสองแบบ และสามารถใช้ย่อหน้า เว้นบรรทัด หรือช่องว่างสามารถทำได้อย่างอิสระ  โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะไม่สนใจเกี่ยวกับระยะเว้นบรรทัด ย่อหน้า หรือช่องว่าง แต่จะเป็นประโยชน์สำหรับการอ่านคำสั่งของผู้สร้างอกสารเว็บ และประโยชน์ทำการพัฒนาเว็บเพจ

ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ

ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ (Body Section) เป็นส่วนเนื้อหาหลักของเอกสารเว็บ โดยส่วนนี้จะเป็นส่วนที่นำไปแสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งการแสดงผลนั้นจะใช้ป้ายระบุหรือคำสั่งเป็นตัวควบคุมรูปแบบการแสดงผล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความ รูปภาพ หรือ เสียง
การเขียนป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง จะไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนคำสั่งติดกันหลายคำสั่งในหนึ่งบรรทัด หรือจะมีเพียง 1 บรรทัดต่อ 1 คำสั่งก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะยึดหลักการจัดวางที่ทำให้ผู้ที่สร้างเอกสารเว็บนั้นสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย เช่นทำการจัดย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่ในย่อหน้าระดับเดียวกัน ซึ่งคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบการแสดงผลทั้งหมด ที่เป็นส่วนของเนื้อหาของเอกสาร จะอยู่ระหว่างป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง <body>…</body> สามารถแบ่งกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้
- กลุ่มคำสั่งการจัดย่อหน้า
- กลุ่มคำสั่งจัดควบคุมรูปแบบตัวอักษร
- กลุ่มคำสั่งการจัดทำเอกสารแบบรายการ
- กลุ่มคำสั่งการเชื่อมโยงเอกสาร
- กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ
- กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง
- กลุ่มคำสั่งการแบ่งส่วนของเอกสาร
- กลุ่มคำสั่งอื่น ๆ

บความรู้ที่ 3.1 ภาษาเอชทีเอ็มแอล

บความรู้ที่ 3.1 ภาษาเอชทีเอ็มแอล

ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html : Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่งสำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความรูปภาพ หรือวัตถุอื่นผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งป้ายระบุ หรือคำสั่งแต่ละคำสั่งนั้น อาจจะมีส่วนขยายที่ใช้สำหรับบอกคุณลักษณะพิเศษ (Attribute) สำหรับระบุหรือควบคุมลักษณะการแสดงผลเพิ่มเติมได้ โดยแต่ละคำสั่งจะมีแตกต่างกันออกไป

ป้ายระบุ

ป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง เป็นลักษณะเฉพาะของภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) เปรียบเสมือนคำสั่งสำหรับกำหนดรูปแบบการแสดงผล โดยป้ายระบุ หรือคำสั่งนั้น จะอยู่ภายใต้เครื่องหมายน้อยกว่า (<) และเครื่องหมายมากกว่า (>) โดยป้ายระบุ หรือคำสั่งของภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) นั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- ป้ายระบุเดี่ยว หมายถึงป้ายระบุที่เป็นคำสั่งเดี่ยวสำหรับควบคุมการแสดงผล เช่นคำสั่งการขึ้นบรรทัดใหม่ <br> เป็นต้น
- ป้ายระบุเปิด/ปิด หมายถึงป้ายระบุที่เป็นคำสั่งสำหรับควบคุมการแสดงผลเป็นกลุ่มเช่นกำหนดให้กลุ่มอักษรเป็นตัวหนา <b>…</b> หรือตัวเอียง <i>…</i> เป็นต้นโดยใช้เครื่องหมายทับ (Slash) นำหน้าคำสั่งที่ต้องการจบลักษณะการแสดงผลที่ประกอบไปด้วย ป้าย โดยกลุ่มของตัวอักษรที่ต้องการควบคุมจะอยู่ระหว่างป้ายระบุเปิด และป้ายระบุปิด

ลักษณะพิเศษ

ลักษณะพิเศษ (Attribute) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ขยายความสามารถของป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง โดยการบอกลักษณะพิเศษเหล่านี้จะถูกระบุภายในเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่า ในส่วนของป้ายระบุเปิดหรือป้ายระบุเดี่ยว โดยคำสั่งของภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) แต่ละคำสั่งจะมีการบอกลักษณะพิเศษ ที่แตกต่างกันไปและมีจำนวนไม่เท่ากัน  การระบุลักษณะพิเศษนั้นสามารถกำหนดได้มากกว่า 1 ลักษณะ โดยใช้ช่องว่างเป็นตัวแยก แต่ละลักษณะพิเศษ ตัวอย่างเช่น ลักษณะพิเศษ ของป้ายระบุ หรือคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดย่อหน้าคือคำสั่ง <p>  ประกอบด้วยลักษณะพิเศษดังนี้คือ 
align = “Left/Right/Center/Justify”
สามารถเขียนคำสั่งสำหรับการจัดย่อหน้าได้ดังนี้
<p align = “Left”>การจัดย่อหน้าชิดซ้าย</p> หรือ
<p align = “Right”>การจัดย่อหน้าชิดขวา</p> หรือ
<p align = “Center”>การจัดย่อหน้าให้อยู่กึ่งกลางหน้าเอกสาร</p>