วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบความรู้ที่ 2.3 ลักษณะโครงสร้างของเว็บเพจ

ใบความรู้ที่ 2.3 ลักษณะโครงสร้างของเว็บเพจ
ลักษณะโครงสร้างของเว็บเพจโดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะดังนี้
1.  แบบลำดับขั้น เป็นการจัดแสดงหน้าเอกสารเว็บในลักษณะเรียงตามลำดับเป็นกิ่งก้านแตกแขนงต่อเนื่อง เปรียบได้กับต้นไม้กลับหัว
2.  แบบเชิงเส้น เป็นการจัดแสดงหน้าเอกสารเว็บ โดยเรียงต่อเนื่องกันไปในทิศทางเดียวไม่มีการแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขา
3.  แบบผสม เป็นการจัดเรียงหน้าของเอกสารเว็บโดยผสมผสานระหว่างแบบลำดับชั้นและแบบเชิงเส้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ทำการออกแบบ ว่าจะจัดเรียงลำดับของรูปแบบเอกสารเว็บในลักษณะใด
การวางแผนพัฒนาเว็บ
การวางแผนสำหรับการพัฒนาเว็บเพจนั้น ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่ง เนื่องจากเอกสารเว็บที่สร้างขึ้นนั้นจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะมีจุดเชื่อม (Link) เป็นจำนวนมาก หากไม่มีการวางแผนไว้ก่อนจะทำให้การปรับปรุงและพัฒนาในภายหลังเกิดปัญหาขึ้นได้ง่าย ตัวอย่างเช่นแฟ้มข้อมูลมีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถจดจำชื่อของแฟ้มข้อมูลที่เคยสร้างไว้แล้วได้ ซึ่งจะส่งผลให้การทำการเชื่อมโยงเอกสารเกิดปัญหาขึ้น  เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวนี้ควรมีการวางแผนและออกแบบเอกสารเว็บบนกระดาษ และทำการกำหนดชื่อแฟ้มข้อมูลของแต่ละเอกสารเว็บให้เรียบร้อย จะทำให้ผู้ที่ทำการสร้างเว็บเพจสามารถมองเห็นภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow) ภายในเว็บเพจได้ชัดเจน และสามารถทำการพิจารณาต่อได้ว่าเอกาสารเว็บแต่ละแฟ้มข้อมูลนั้นมีความสัมพันธ์กับเอกสารอื่นได้อย่างไร และสัมพันธ์สารเว็บให้เรียบร้อย จะทำให้ผู้ที่ทำการสร้างเว็บเพจสามารถมองเห็นภาพการไหลของข้อมูล ()าษ และทำการกำหนดชกับแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บใดบ้าง
ตัวอย่าง ต้องการสร้างเว็บเพจเพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น  อาจสามารถทำการออกแบบได้ดังนี้
การกำหนดชื่อและนามสกุลของแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บ
ข้อกำหนดสำหรับการตั้งชื่อของแฟ้มข้อมูลนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับความสามารถของระบบปฏิบัติการแล้ว ยังต้องขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ดูแลระบบของเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการเว็บเพจ (Web Administrator) ด้วย ดังนั้นผู้ที่สร้างเว็บเพจจึงต้องสอบถามกฎการตั้งชื่อเหล่านี้โดยละเอียด โดยทั่วไปแล้วมีหลักการดังนี้
1.  ควรใช้ตัวอักษร a - z หรือตัวเลข 0-9 ในการตั้งชื่อไม่ควรใช้อักขระพิเศษ
2.  ตัวอักษร a - z ที่ใช้ในการตั้งชื่อ ควรเป็นอักษรพิมพ์เล็ก
3.  ไม่ควรเว้นวรรคช่องว่างภายในชื่อ
4.  ห้ามใช้อักขระพิเศษในการตั้งชื่อ ยกเว้น Underscore (ขีดล่าง) หรือ Dash (ขีดกลาง)
5.  ชื่อแฟ้มข้อมูลแรกของเว็บเพจ มักจะใช้ชื่อ index.html หรือ index.html
6.  นามสกุลของแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บมี 2 รูปแบบคือ .htm และ .html ส่วนแฟ้มข้อมูลประเภทอื่น ผู้ที่ทำการสร้างเว็บเพจควรสอบถามจากผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) นี้ สามารถใช้งานเก็บเอกสารที่มีนามสกุลของแฟ้มข้อมูลเป็นรูปแบบใดได้อีก เช่น .php, .asp เป็นต้น
นอกจากการวางโครงร่างของเว็บเพจข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรจะทำการพิจารณาต่อไปคือ
1.  รูปแบบการแสดงผลของหน้าเว็บเพจ หมายถึงลักษณะการวางเนื้อหาและรายการเลือกต่างๆ บนหน้าเว็บ ซึ่งมีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
1.1  การแสดงผลเนื้อหาทั้งหมดรวมในหน้าเดียวกัน ซึ่งการแสดงผลแบบนี้จะรวมเอารายการเลือกและเนื้อหาไว้ในหน้าเดียวกัน
1.2  การแสดงผลด้วยตาราง การแสดงผลรูปแบบนี้จะแยกระหว่างรายการเลือกหรือเมนู (Menu) ไว้ด้านหนึ่งของตารางและเนื้อหาข้อความจะอยู่อีกด้านหนึ่ง
1.3  การแสดงผลด้วยเฟรม การแสดงผลรูปแบบนี้คล้ายกับการแสดงผลแบบตารางแต่รายการเลือกหรือเมนูนั้นจะถูกตรึงกับที่ จะไม่มีการเคลื่อนย้ายเมื่อทำการเลื่อนจอภาพหรือเลือกเนื้อหาที่ต้องการแสดงผล แต่จะทำงานได้เฉพาะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่
2.  ข้อความที่ใช้สำหรับแสดงหัวเรื่องของเว็บเพจ หมายถึงข้อความที่จะปรากฏในส่วนหัวของหน้าต่างเอกสารเว็บ (Title Bar) โดยข้อความส่วนนี้จะถูกนำไปใช้เป็นคำสำคัญ (Keyword) ที่ใช้ในการค้นหาเว็บเพจจากบุคคลอื่น ข้อความที่นำมากำหนดเป็นหัวเรื่องของเว็บเพจนั้น ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.    สามารถเป็นข้อความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
2.    มีความยาวไม่เกิน 64 ตัวอักษร
3.    เป็นข้อความที่สื่อความหมายที่กระชับเกี่ยวกับเนื้อหาในหน้าเว็บนั้น
3.  ลักษณะของหน้าเว็บ หมายถึง การกำหนดสีของพื้นของเอกสารเว็บ (Background Color) หรือรูปภาพที่จะนำมาใช้เป็นพื้นหลังของเอกสารเว็บ (Background Image) สีของตัวอักษรปกติ (Normal Text) สีของตัวอักษรที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อ (Link Text) เพื่อให้เอกสารเว็บแต่ละหน้ามีการแสดงผลที่สวยงาม และดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น